เช็คราคาต่อภาษีรถยนต์ทุกชนิด พร้อมทั้งรายละเอียดการต่อภาษี
คนใช้รถใช้ถนน ไม่ได้มีภาระหน้าที่แค่ต้องดูแลรักษา แต่ยังมีค่าใช้จ่ายประจำปีที่ต้องเตรียมไว้ตลอด หนึ่งในนั้นก็คือ ‘การต่อภาษีรถยนต์’ ซึ่งรถยนต์แต่ละประเภทมีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน แต่จะมีราคาเท่าไหร่บ้าง
บทความนี้ขอชวนทุกท่านมาเช็คราคาต่อภาษีรถยนต์แต่ละประเภท ฉบับอัปเดตปี 2566 นี้ พร้อมทุกเรื่องราวที่ควรรู้เกี่ยวกับภาษีรถยนต์กันทุกเรื่อง
จะมีเรื่องไหนน่ารู้กันบ้าง เราตามมาดูกันได้เลยครับ !!
หลายคนยังสนใจ บทความน่ารู้เพิ่มเติม
- รีไฟแนนซ์รถยนต์คืออะไร มีแบบไหน ขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
- แบตเตอรี่รถยนต์ต้องเลือกแบบไหน ยี่ห้อไหนดี? (2023)
- อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันรถยนต์: วิธีประหยัดน้ำมันที่ควรรู้!
ภาษีรถยนต์ คืออะไร
ภาษีรถยนต์ คือ ป้ายสี่เหลี่ยมเล็กๆ สีชมพูฟ้า เป็นป้ายจากกรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม ที่ใช้ติดหน้ารถจะเปลี่ยนไปทุกปี ซึ่งภาษีรถยนต์เป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถยนต์ทุกคนต้องเสียเงินตามกฎหมาย เพื่อใช้ในการพัฒนาและรักษาถนน การคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ในประเทศ ทำนองเดียวกับภาษีเงินได้หรือภาษีโรงเรือน
หากไม่ต่อภาษีรถยนต์นานติดต่อกันเกิน 3 ปีจะทำให้ถูกระงับทะเบียนรถได้เลยทันที เพราะในแต่ละวินาทีถนนและการคมนาคมจะมีการเสื่อมโทรมเกิดขึ้น ภาษีรถยนต์ในส่วนนี้ก็จะช่วยสนับสนุนหน่วยงานคมนาคมให้สามารถบำรุงรักษาและทำถนนหนทางทั่วประเทศให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงปรับปรุงการคมนาคมและเสริมการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ภาษีรถยนต์ กับ พรบ.รถยนต์ ต่างกันอย่างไร?
เชื่อว่า หลายคนมักสับสนว่า ภาษีรถยนต์ กับ พรบ.รถยนต์ คืออันเดียวกันมั้ย? เพราะต้องต่อทุกปีเหมือนกัน หากไม่ต่อจะมีผลเสียเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดกฎหมายเหมือนกัน แต่จะบอกว่า ไม่ใช่อันเดียวกัน เพราะ การต่อภาษีรถยนต์ คือ การจ่ายเงินภาษีให้แก่รัฐ เพื่อนำไปดูแลรักษาระบบคมนาคมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้มีความคุ้มครองใดแบบพรบ.รถยนต์
การต่อพรบ.รถยนต์ มีชื่อเต็มว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ พูดง่ายๆ ว่าเป็นการทำประกันภัยภาคบังคับสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน
ถ้าไม่ต่อภาษีรถยนต์จะเป็นอย่างไร? ผิดกฏหมายไหม?
ด้วยความที่เรื่องของภาษีเป็นหน้าที่ที่ประชาชนต้องชำระและมีโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของการต่อภาษีรถยนต์ เพราะงั้นตามปกติแล้วการต่อภาษีสามารถทำได้ล่วงหน้าก่อนทะเบียนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน
หากวันไหนที่ผู้ใช้รถใช้ถนนเกิดละเลยจนลืมต่อภาษีเมื่อถึงเวลาก็อาจมีปัญหาหรือผลเสียตามมาได้ เช่น
1. โดนค่าปรับ 1% ต่อเดือน
ฟังดูแล้วการโดนค่าปรับ 1% หากลืมต่อภาษีรถยนต์เหมือนจะไม่เยอะ แต่ความจริงแล้วถ้าต่อภาษีล่าช้าอาจจะโดนค่าปรับ 1% ต่อเดือน ย้ำว่า ต่อเดือน! เพราะงั้นยิ่งปล่อยไว้นาน ค่าปรับก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น หากปล่อยไว้นานอาจโดนค่าปรับจนเจ็บหนักได้เหมือนกัน
2. ขนส่งระงับทะเบียน
ไม่ใช่แค่เรื่องของการโดนค่าปรับ แต่เมื่อปล่อยรถไว้ไม่จ่ายภาษีรถยนต์เป็นเวลานานจนขาดการต่อทะเบียนรถยนต์เกิน 3 ปี ทางขนส่งจะดำเนินอาจระงับทะเบียนได้เลยทันที
หากจะใช้รถคันที่มีปัญหาโดนระงับทะเบียนอาจต้องชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลัง พร้อมค่าปรับ และดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนรถใหม่ก่อนจะคืนป้ายทะเบียน แต่ถ้ารถมีปัญหาต้องจอดเป็นเวลานานก็สามารถยื่นแสดงการระงับใช้รถชั่วคราวล่วงหน้าที่ขนส่งได้ เพื่อเลื่อนเวลาที่จะต้องจ่ายภาษีรถยนต์ ณ เวลานั้น
3. เสียค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติม
นอกจากค่าปรับแล้ว การไม่ต่อภาษีรถยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก เช่น หากรถยนต์มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะต้องทำการตรวจสภาพรถให้ครบก่อน ถึงจะสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ ค่าตรวจสภาพ ค่าป้ายใหม่ เป็นต้น
ต่อภาษีรถยนต์ ราคาเท่าไร
ในส่วนของการต่อภาษีรถยนต์ไม่ใช่ว่าจะจ่ายราคาเท่ากันหมดทุกคันทุกประเภทซะเมื่อไหร่ เพราะการใช้รถยนต์แต่ละประเภทส่งผลถึงการดูแลการคมนาคมที่แตกต่างกัน เพราะงั้นมาดูกันดีกว่าว่า ต่อภาษีรถยนต์ของคุณต้องจ่ายราคาเท่าไหร่ ยังไงบ้าง
ค่าต่อภาษีรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไป (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือดำ)
การคำนวณราคาต่อภาษีรถยนต์ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋งทั่วไป ฯลฯ จะคำนวณจากขนาดของเครื่องยนต์ หรือ ซีซี ดังนี้
- รถยนต์ที่มีขนาดเครื่อง 600 ซีซีแรก คำนวณซีซีละ 50 สตางค์
- รถยนต์ที่มีขนาดเครื่อง 601–1,800 ซีซี คำนวณซีซีละ 1.50 บาท
- รถยนต์ที่มีขนาดเครื่อง 1,801 ซีซีขึ้นไป คำนวณซีซีละ 4 บาท
และยังมีส่วนลดให้สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป โดยจะเสียภาษีรถยนต์ลดลงตามสัดส่วน ดังนี้
- รถยนต์อายุเกิน 6 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 10%
- รถยนต์อายุเกิน 7 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 20%
- รถยนต์อายุเกิน 8 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 30%
- รถยนต์อายุเกิน 9 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 40%
- รถยนต์อายุเกิน 10 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 50%
ค่าต่อภาษีรถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
สำหรับรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ รถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถกระบะ 2 ประตู รถบรรทุก (สังเกตได้จากป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีเขียว) ฯลฯ จะมีวิธีคิดคำนวณภาษีตามน้ำหนักรถยนต์ ดังนี้
- น้ำหนักรถ 0-500 อัตราภาษี 300 บาท
- น้ำหนักรถ 501- 750 กก. อัตราภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กก. อัตราภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กก. อัตราภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กก. อัตราภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กก. อัตราภาษี 1,050 บาท
- น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กก. อัตราภาษี 1,350 บาท
- น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กก. อัตราภาษี 1,650 บาท
- น้ำหนักรถ 2,501 – 3,000 กก. อัตราภาษี 1,950 บาท
ค่าต่อภาษีรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน)
สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้ ฯลฯ จะมีวิธีคำนวณราคาต่อภาษีรถยนต์ตามน้ำหนักเหมือนกับรถบรรทุก แต่คนละอัตราภาษี ดังนี้
- น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถเกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,600 บาท
เอกสารที่ใช้สำหรับการต่อภาษีรถยนต์
หลังจากที่ได้เตรียมเอกสารสำหรับการต่อภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว มาดูกันต่อดีกว่าว่า สามารถยื่นต่อภาษีรถยนต์ได้ที่ไหนบ้าง จะบอกว่าสมัยนี้สะดวกสบายสุดๆ จะอยู่ที่ไหนก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ ดังนี้
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ (ตัวจริงหรือสำเนา)
- หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุมากกว่า 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป)
- พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
6 ช่องทางในการยื่นต่อภาษีรถยนต์
หลังจากที่ได้เตรียมเอกสารสำหรับการต่อภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้วสามารถยื่นต่อภาษีรถยนต์ได้ที่ไหนบ้าง เรามาดูกันเลย
1. กรมการขนส่งทางบก
สำนักงานขนส่งทั่วไทย ไม่ว่ารถยนต์คันนั้นจะจดป้ายทะเบียนไว้ที่จังหวัดใดก็ตาม ก็สามารถยื่นเอกสารเพื่อต่อภาษีได้ทุกพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีบริการชำระภาษีรถยนต์ให้เลือกเพิ่มอีก 2 แบบ ทั้งเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) และตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)
2. ที่ทำการไปรษณีย์
จะมีค่าธรรมเนียมการชำระ 40 บาท โดยตัวป้ายสี่เหลี่ยมจะถูกส่งไปยังที่อยู่ที่เจ้าของรถระบุเอาไว้
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
4. ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ‘ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี’ (Shop Thru for Tax)
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยให้บริการอยู่ในบริเวณพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
5. เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
ต่อได้เฉพาะรถยนต์ที่อายุไม่เกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่อายุไม่เกิน 5 ปี โดยตัวป้ายสี่เหลี่ยมจะส่งตามมาทีหลังตามชื่อที่อยู่ที่ระบุไว้ และมีค่าธรรมเนียมการให้บริการ 20 บาท ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์เพิ่มอีก 40 บาท
6. แอปพลิเคชัน mPay และ TrueMoney Wallet
เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/ หรือแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
เมื่อถึงเวลา อย่าลืมรีบเตรียมเอกสาร รถยนต์ และเงินให้พร้อมไปต่อภาษีรถยนต์กันจะได้ไม่พลาดเข้าข่ายผิดกฎหมายจนอาจถึงขั้นโดนระงับทะเบียนและใช้รถไม่ได้กัน ใครที่กลัวลืมหรือพลาดข้อมูลส่วนไหนรีบแชร์บทความนี้หรือแคปเก็บไว้ ไม่งั้นถ้าพลาดลืมต่อภาษีรถยนต์เมื่อไหร่ปัญหาเกิดแน่นอน!
หลายคนยังสนใจ บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- เคลือบแก้วหรือเคลือบสี อะไรดีกว่ากัน?
- ติดฟิล์มรถยนต์ ยี่ห้อไหนดี ?
- วิธีอย่างรถด้วยตัวเองง่ายๆ ไม่ต้องง้อร้านล้างรถ
ต่อภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว อยากติดฟิล์มรถยนต์ ติดต่อ Topfilm Thailand ได้เลยครับ