ฟิล์มกรองแสงคืออะไร Specของฟิล์มกรองแสงอ่านอย่างไร?

ฟิล์มกรองแสงคือ

ฟิล์มกรองแสง คืออะไร?

ฟิล์มกรองแสง คือ ฟิล์มลามิเนตที่ผลิตมาจากแผ่นโพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate หรือ PET) เป็นแผ่นพลาสติกตระกูลโพลีเอสเตอร์ (Polyester) มีคุณสมบัติเหนียว บางเรียบ ใส ไร้รอยย่น ยืดหยุ่นน้อย มีความทนทานต่อสภาพอากาศ สามารถยึดเกาะกับเนื้อกระจกได้อย่างเรียบสนิทโดยใช้กาวที่มีความบางใสเป็นตัวเชื่อม โดยฟิล์มกรองแสงจะมีการใช้วัสดุเคลือบที่ใช้เพื่อป้องกันความร้อน และป้องกันรังสีต่างๆ ฉะนั้นฟิล์มกรองแสงจึงช่วยลดความร้อน ลดรังสีอินฟราเรด และรังสียูวีที่เข้ามากระทบได้เป็นอย่างดี

ฟิล์มกรองแสงสามารถแบ่งประเภทได้ตามสารเคลือบแสงที่ใช้ ซึ่งจะมีการใช้สารเคลือบแสงต่างกัน เช่น การย้อมสี การเคลือบโลหะ การเคลือบสารนาโนเซรามิค เป็นต้น หรืออาจจะแบ่งได้ตามการใช้งาน เช่น ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ ฟิล์มกรองแสงติดอาคาร เป็นต้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Window_film

หลายคนยังสนใจ อ่านบทความเหล่านี้เพิ่มเติมก่อนครับ:

สนใจติดฟิล์มกรองแสงราคาถูก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรเลย

โทรติดต่อtopfilm

ติดต่อfacebooktopfilm

line topfilm

ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวฟิล์มกรองแสงจึงนิยมนำมาใช้เพื่อลดแสง ลดความร้อน ตามอาคาร สำนักงาน บ้าน คอนโด ที่พักอาศัย และด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการพัฒนากระบวนการผลิตฟิล์มกรองแสงให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นตามความต้องการของท้องตลาดและตอบโจทย์ผู้บริโภคได้มากที่สุด 

สเปคของ ฟิล์มกรองแสงคืออะไร? มีวิธีอ่านค่าต่างๆอย่างไร?

ฟิล์มกรองแสงยี่ห้อต่างๆ

หลายๆคนเวลาคิดจะเลือกฟิล์มกรองแสงยี่ห้อต่างๆแล้ว มักจะปวดหัวกับการอ่านค่าSpecต่างๆ อ่านกันถูกบ้าง ผิดบ้าง แล้วค่าต่างๆเหล่านี้บ่งบอกถึงอะไรได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่า VLT, TSER, VLR, IRR, UVR เป็นต้น และอีกหลายตัวเยอะแยะเต็มไปหมด

ซึ่งถ้าจะให้อธิบายกันอย่างละเอียดแล้ว เราจะต้องเข้าใจว่า รังสีที่ส่องมาจากดวงอาทิตย์นั้น คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น และ ความถี่ของคลื่นที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในความถี่ของคลื่นบางชนิด ก็จะมีพลังงานที่แตกต่างออกไป ทำให้เกิดเป็นคลื่นความถี่ต่างๆ เช่น รังสี UV รังสีinfared แสงสว่าง เป็นต้น

วันนี้ทีมงาน Topfilm Thailand จะมาอธิบายวิธีการอ่านค่าฟิล์มกรองแสงแบบง่ายๆครับ 

ค่าแสงสว่างส่องผ่าน VLT คืออะไร?

ค่าแสงส่องผ่าน คือ

ค่าแสงสว่างส่องผ่าน (Visible Light Transmittance หรือ VLT) คือ %ค่าแสงสว่างที่สามารถผ่านเข้ามาในฟิล์มกรองแสงติดกระจกได้ ยิ่งค่าแสงสว่างส่องผ่านน้อย ยิ่งป้องกันความร้อนได้ดี แต่ภายในก็จะยิ่งมืดด้วยเช่นกัน

เช่น ถ้าค่าแสงสว่างส่องผ่านของฟิล์มกรองแสง VLT 3-5% ฟิล์มก็จะทึบแสงมาก ถ้าค่าแสงสว่างส่องผ่าน VLT 70-80% ฟิล์มก็แทบจะโปร่งใสเลยทีเดียว ซึ่งสามารถเทียบได้กับกระจกปกติที่ไม่ติดฟิล์มกรองแสงจะมีค่าแสงสว่างส่องผ่าน (VLT) ประมาณ 89% 

การเรียกความเข้มฟิล์ม 40 60 80 จะไม่ใช่ค่าแสงสว่างส่องผ่านนะครับ จะเป็นค่าคร่าวๆที่คนไทยเรียกง่ายๆ ว่าฟิล์มเข้มน้อยเบอร์ 40 เข้มกลางเบอร์ 60 เข้ามากเบอร์ 80 เพียงแค่นั้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.johnsonwindowfilms.com/dealer/articleView.php?ARTICLE_ID=153

ค่าการสะท้อนแสง VLR คืออะไร?

ค่าสะท้อนแสง คือ

ค่าการสะท้อนแสง (Visible Light Reflectance หรือ VLR) คือ %ค่าความมันวาวของฟิล์มกรองแสงที่สามารถสะท้อนแสงไปฝั่งตรงข้าม โดยปกติค่าสะท้อนแสงของฟิล์มกรองแสง อยู่ที่ประมาณ 6% ถึง 40% พูดง่ายๆคือ ยิ่งฟิล์มกรองแสงมีค่าสะท้อนแสงมากเท่าไร ฟิล์มกรองแสงยิ่งมีความมันวาวคล้ายกระจกมากขึ้น สะท้อนแสงออกมาขึ้น และยังสามารถป้องกันความร้อนได้ดีขึ้นด้วย

โดยปกติ ฟิล์มดำ หรือฟิล์มเซรามิค ค่าสะท้อนแสงจะประมาณ ไม่เกิน 10% แต่ถ้าเป็น ฟิล์มปรอท ค่าสะท้อนแสงจะประมาณ 10-40 % ขึ้นอยู่กับปริมาณสารโลหะที่เคลือบอยู่ในตัวฟิล์มกรองแสงครับ

ข้อควรระวัง กฏหมายการติดฟิล์มกรองแสงของไทย ไม่ให้คิดฟิล์มกรองแสง ที่ค่าแสงสะท้อนเกิน 30% จะผิดกฏหมายได้ หรือบางคอนโด จะตั้งกฏไว้เข้มงวดกว่านี้ คือติดฟิล์มกรองแสงที่ค่าสะท้อนแสงได้ไม่เกิน 20% นั่นเอง

ค่าป้องกันรังสีอินฟราเรด (IRR) คืออะไร?

ค่าirr คือ

ค่าป้องกันรังสีอินฟราเรด (Infrared Light Rejection หรือ IRR) คือ %ค่าการป้องกันรังสีอินฟาเรด หรือบางครั้งก็เรียกว่า รังสีIR หรือ รังสีความร้อน มีตั้งแต่ค่า 0-100% ยิ่งค่ามากยิ่งป้องกันความร้อนได้ดี ในแสงอาทิตย์นั้น จะมีรังสีอินฟราเรดเป็นส่วนประกอบอยู่ถึง 53% ถึงถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด

นั่นหมายความว่า ฟิล์มเกรดพรีเมียม ควรจะป้องกันรังสีอินฟราเรดได้มากกว่า 80% เราถึงจะรู้สึกเย็นสบายภายในรถครับ

ความเข้มของฟิล์มกรองแสง จะไม่เกี่ยวข้องกับการป้องกันรังสีอินฟราเรด นั่นหมายความว่า ฟิล์มเข้มมากก็อาจจะกันอินฟราเรดไม่ดี(กันร้อนไม่ดี) ในทางกลับกัน ฟิล์มใสอาจจะกันรังสีอินฟราเรดได้มาก (กันร้อนสูง) กว่าฟิล์มดำก็เป็นไปได้

ข้อสังเกตุ ในการวัดรังสีอินฟราเรดโดยเครื่องวัดรังสีฟิล์มแต่ละรุ่น อาจจะให้ผลในแต่ละเครื่องไม่เท่ากัน เนื่องมาจาก Spec ของเครื่องวัดแต่ละเครื่องอาจจะไม่เท่ากัน บางเครื่องอาจจะวัดได้ถึงแค่ความยาวคลื่น 950 nm บางเครื่องวัดได้เต็มระดับ Full-IR เพราะฉะนั้น การดูรังสีอินฟราเรดจากเครื่องวัดฟิล์ม อาจจะสามารถใช้อ้างอิงได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ทั้งหมด

ค่าป้องกันรังสียูวี คืออะไร? แล้วรังสี UV400 คืออะไร?

ค่าป้องกันUV คือ

ค่าการป้องกันรังสียูวี (Ultraviolet Rejection หรือ UVR) คือ %ค่าการป้องกันรังสียูวี ที่รังสีที่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง และ เฟอร์นิเจอร์ภายในรถ มีค่าตั้งแต่ 0-100% รังสีUV เป็นรังสีที่มีความยาวคลื่นในช่วง 100-400 นาโนเมตร ถ้าฟิล์มกรองแสงยิ่งป้องกันได้มาก ยิ่งดีครับ

โดยปกติฟิล์มกรองแสงทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟิล์มราคาถูกสุด หรือ ฟิล์มราคาแพงสุด จะสามารถป้องกันรังสียูวีได้เป็นมาตรฐานคือ >99% เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่คุณสมบัติเด่นแต่อย่างใด

รังสี UV ยังสามารถแบ่งย่อยออกตามความยาวคลื่อน เป็นได้อีก 3 ช่วงด้วยกัน 

  • UVA – เป็นรังสีที่อยู่ในช่วงคลื่น 315nm – 400nm เป็นรังสีที่ทำลายผิวหนัง ทำให้เกิดรอยย่นต่างๆ และเป็นหนึ่งในสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง
  • UVB – รังสี UVB อยู่ในช่วงคลื่น 280nm – 315nm ซึ่งมีความอันตรายยิ่งกว่า รังสี UVA ด้วย การได้รับรังสี UVB นานๆ เป็นสาเหตุของ มะเร็งผิวหนัง ผิวไหม้ และต้อกระจกได้
  • UVC – รังสี UVC อยู่ในช่วงคลื่น 100nm – 280nm มีความอันตรายสูงสุด แต่ก็โชคดีที่บรรยากาศโลก Ozone ได้ดูดซับรังสี UVC ก่อนจะส่องมายังผิวโลกแล้ว

โดยทั่วไปแล้ว แหล้งกำเนิดของรังสี UV หลักๆจะมาจากดวงอาทิตย์เท่านั้น เพราะฉะนั้น ฟิล์มกรองแสงจึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกในการป้องกันรังสี UV ได้เป็นอย่างดี

รังสี UV 400 คืออะไร?

รังสี UV400 คือ รังสีอัลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่นในช่วง 400 นาโนเมตร ซึ่งถือว่าเป็นช่วงรังสี UV เป็นช่วงแสงสีฟ้าที่เป็นอันตรายต่อดวงตามากที่สุด ซึ่งในช่วงแรกจะมีเฉพาะแว่นตากันแดดเท่านั้น ที่สามารถป้องกัน UV400 ได้ ซึ่งในปัจจุบัน ก็นำมาพัฒนาใช้ในฟิล์มกรองแสงด้วย

ซึ่งฟิล์มกรองแสงทั่วๆไปแล้ว จะป้องกันรังสีUV ได้99% แต่จะไม่สามารถป้องกันคลื่นรังสี UV400 คลื่นสีฟ้าได้ นอกจากจะมีฟิล์มกรองแสงแบบพิเศษบางรุ่นเท่านั้น ที่สามารถป้องกันรังสี UV400 ได้100% เช่น ฟิล์มกรองแสง VOX , ฟิล์ม Hi-kool UV care, ฟิล์ม HeatGard Fusion เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก Wikipedia

ค่าลดความร้อนรวม คืออะไร?

ค่าTSERคือ

ค่าลดความร้อนรวม (Total Solar Energy Rejection หรือ TSER) คือ % ค่าการป้องกันความร้อนรวมของแสงอาทิตย์ ซึ่งประกอบไปด้วย แสงสว่าง(Visible light) 44% รังสีUV 3% และรังสีอินฟราเรด53% ถ้ายิ่ง%ค่าลดความร้อนรวมมาก ฟิล์มกรองแสงก็ยิ่งป้องกันความร้อนได้ดี

ถ้าฟิล์มกรองแสงสามารถลดค่าความร้อนรวมได้เกิน 60% (มาตรฐานอเมริกา ISO9050) ถือว่ากันร้อนได้สูงครับ โดยการคำนวนที่ถูกต้อง ต้องคำนวนมาจากค่า Shading Coefficient ซึ่งต้องได้ค่ามาจากห้องแลปเท่านั้น

ทำไมค่าลดความร้อนรวม(TSER)ในประเทศไทย ถึงใช้เปรียบเทียบฟิล์มแต่ละยี่ห้อไม่ได้ !!!

การคำนวนค่าลดความร้อนรวมของฟิล์มกรองแสงในปัจจุบันนั้น มีความเข้าใจผิดไปมาก เนื่องจากการใช้การคำนวนตามมาตรฐานแบบไทย หรือเรียกค่าลดความร้อนรวมแบบนี้ว่า “การลดความร้อนรวมคำนวนเฉพาะในช่วงแสง” นั่นก็คือ 

%TSER = 44 x แสงส่องผ่านที่โดนบล๊อค(100-VLT) + 53 x รังสีอินฟราเรดที่โดนบล๊อค(IRR) + 3xรังสี UV ที่โดนบล๊อค (UVR)

ทำให้ค่าการลดความร้อนรวมของฟิล์มกรองแสงบางยี่ห้อของไทย พุ่งสูงเกิน 80-90 % ทำให้ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันกับมาตรฐานอเมริกาได้ !!  เพราะฉะนั้นเวลาดูค่าลดความร้อนของฟิล์ม ถ้าเป็นค่าลดความร้อนรวมมาตรฐานไทย  ค่าTSERประมาณ 80-90% เมื่อแปลงเป็นมาตรฐานอเมริกา อาจจะเหลือแค่ 60-70% แค่นั้น ถึงแม้จะเป็นฟิล์มชนิดเดียวกัน

ค่าลดความร้อนรวมที่ถูกต้องตามมาตรฐานจากอเมริกา ต้องคำนวนจากห้องปฏิบัติการเท่านั้น ตามมาตรฐาน ISO9050 ไม่สามารถใช้เครื่องวัดรังสีจากฟิล์มกรองแสงธรรมดา คำนวนออกมาเป็นค่าลดความร้อนรวมได้ ถ้ามีใครบอกว่าค่าลดความร้อนรวม ดูจากเครื่องวัดฟิล์มได้เลย บอกเลยว่าไม่จริงครับ!!!

ซึ่งค่า TSER ที่คำนวนถูกต้องได้จากห้องแลปนั้น มีสูตรคำนวนมากจาก สัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนจากรังสีอาทิตย์ (Solar heat gain coefficient, SHGC) โดย TSER = (1 – SHGC) * 100%

เราสามารถเช็คค่าลดความร้อนรวมจริงๆ ได้จากที่ไหนบ้าง?

ในประเทศไทย มีสถาบันที่สามารถตรวจสเปคฟิล์มกรองแสงได้อย่างถูกต้อง โดยสามารถหาค่าลดความร้อนรวม (TSER) ได้อย่างแท้จริงโดยใช้เครื่อง Spectrophotometer มีอยุ่หลายแห่งเช่นกัน เช่น มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหิดล และ กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นต้น ซึ่งค่าทดสอบต่อ 1 ตัวอย่างประมาณ 2,000-3,000 บาท

หากมีข้อสงสัยเรื่อง Spec ฟิล์มกรองแสง ค่า TSER เพิ่มเติม ว่าฟิล์มกรองแสงยี่ห้อไหน ใช้ค่า TSER มาตรฐานแบบไหน แบบไหนค่าสูงเกินความเป็นจริงบ้าง สามารถสอบถามช่างผู้มีประสบการณ์ หรือทีมงาน Topfilm ได้ครับ

ค่า Spec ฟิล์มกรองแสงอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

นอกจากค่า Spec ฟิล์มกรองแสงต่างๆเบื้องต้นที่ผมกล่าวมานั้น ยังมีค่าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายเทความร้อนระดับสูงเพิ่มเติมอีก ไม่ว่าจะเป็น

ค่าสัมประสิทธิการบังเงา Shading Coefficient (SC) คืออะไร?

ค่าสัมประสิทธิการบังเงา Shading Coefficient (SC) คือการวัดความสามารถของฟิล์มกรองแสงในการถ่ายเทความร้อนเมื่อเทียบกับกระจกเปล่าๆ ซึ่งจะมีค่าระหว่าง 0-1 ถ้าค่าสัมประสิทธิการบังเงายิ่งน้อย จะยิ่งสามารถป้องกันความร้อนได้ดี ถ้าค่าสัมประสิทธิการบังเงายิ่งมาก จะถือว่าป้องกันความร้อนได้ไม่ดี

ซึ่งค่า Shading Coefficient (SC) มักจะใช้ร่วมกับค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากรังสีอาทิตย์ (Solar Heat Gain Coefficient หรือ SHGC) โดย

ค่าสัมประสิทธิการบังเงา Shading Coefficient (SC) สามารถคำนวนได้จาก SC = SHGC ÷ 0.87

ซึ่งถ้า SC ต่ำกว่า 0.45 ฟิล์มกรองแสงติดอาคารนั้น จะได้สลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ของกระทรวงพลังงาน ซึ่งถือว่าฟิล์มกรองแสงนั้นสามารถประหยัดพลังงานได้สูง

ค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากรังสีอาทิตย์ (Solar Heat Gain Coefficient หรือ SHGC) คืออะไร?

ค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อนจากรังสีอาทิตย์ (Solar Heat Gain Coefficient หรือ SHGC) คือ สัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนอันเนื่องจากปริมาณแสง อาทิตย์ที่ส่องผ่าน กระจกเข้ามาเปรียบเทียบ กับกระจกใสความหนา 3 มิลลิเมตร มีค่าอยู่ระหว่าง 0-1

ซึ่งค่าSHGC นี้ยิ่งน้อย หมายถึงฟิล์มกรองแสงนั้นสามารถกันความร้อนได้ดี ยกตัวอย่างเช่น ถ้าค่า SHGC = 1.0 หมายถึง ปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์ที่ส่องผ่านเข้ามาในบ้าน 100% ถ้า SHGC = 0.25 หมายถึง ปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์ที่ส่องผ่านเข้ามาในบ้าน 25%

ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน (Heat transfer coefficient หรือ U value) คืออะไร?

ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน (Heat transfer coefficient หรือ U value) คือ การวัดประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อน โดยวิธีการนำความร้อน และการพาความร้อน มีหน่วยเป็น W/m²K ถ้าค่า U ต่ำนั่นหมายความว่า การถ่ายเทความร้อนหรือความเย็นจะทำได้ช้า เป็นต้น

ซึ่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ spec ฟิล์มกรองแสง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Topfilm Thailand ครับ

สอบถามเรื่องสเปคฟิล์มกรองแสงเพิ่มเติม ยินดีให้คำปรึกษาครับ

โทรติดต่อtopfilm

ติดต่อfacebooktopfilm

line topfilm

ฟิล์มติดรถยนต์ มีกี่แบบ? กี่ประเภท?

รู้ประเภทฟิล์มติดกระจกบ้าน

เราสามารถแบ่งหมวดหมู่ของฟิล์มติดกระจกรถยนต์ได้หลายชนิด ซึ่งสามารถแบ่งตามความเข้ม แบ่งตามลักษณะการสะท้อนแสง และกระบวนการผลิตฟิล์มกรองแสงรถยนต์ วันนี้ Topfilm Thailand เราจะมาแนะนำฟิล์มกรองแสง

ฟิล์มติดรถยนต์ถ้าแบ่งได้ตามกระบวนการผลิต จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้

1. ฟิล์มรถยนต์ย้อมสี (Dye Film)

ฟิล์มกรองแสงย้อมสี เป็นฟิล์มกรองแสงที่ผลิตด้วยกระบวนการจุ่มเนื้อพลาสติกด้วยสีย้อม (Dye) เพื่อย้อมสีให้ฟิล์มรถยนต์เป็นสีดำเข้ม ซึ่งฟิล์มประเภทฟิล์มย้อมสี มีคุณสมบัติในการลดแสงสว่างเท่านั้น ไม่สามารถลดความร้อนได้หรือลดได้เพียงเล็กน้อย ยังสามารถป้องกันรังสี UV ได้บ้าง

เมื่อมีการใช้งานไปสักระยะ ฟิล์มรถยนต์ย้อมสีมักจะโดนรังสีUV และสีจะซีด มีเกิดการเปลี่ยนสีจากสีดำ เป็นฟิล์มสีม่วง นั่นหมายความว่าฟิล์มเริ่มเสื่อมคุณภาพ ทำให้กระจกขาดความสวยงาม และมีการล่อน ฟิล์มฟองออกจากกระจก ปกติอายุการใช้งานไม่เกิน 3 ปี ซึ่งฟิล์มติดรถยนต์แถมตามโชว์รูม มักจะแถมเป็นเกรดนี้ เพราะเป็นฟิล์มกรองแสงราคาถูกที่สุด ราคาติดฟิล์มรถยนต์ย้อมสี ราคา คันละ 1,000-2,000 บาท

2. ฟิล์มรถยนต์แบบฉาบไอโลหะ (Metallized Evaporation Window Films)

ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์แบบฉาบไอโลหะ หรือที่เรียกกันทั่วๆไปว่า “ฟิล์มปรอท” นั้น เป็น ฟิล์มกรองแสงที่ถูกเคลือบผิวด้วยไอโลหะประเภทต่างๆ เช่น อลูมิเนียม เงิน ทอง ฯลฯ ซึ่งฟิล์มกรองแสงแบบฉาบปรอทนี้จะสามารถกันรังสีความร้อนได้มากพอสมควร ผิวฟิล์มจะมีความมันเงา สะท้อนแสง ให้ความเป็นส่วนตัว

ฟิล์มปรอทเป็นที่นิยมในตลาดฟิล์มกรองแสงในไทยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาไม่แพงมาก กันร้อนสูง อายุการใช้งานประมาณ 5-7 ปี

3. ฟิล์มรถยนต์แบบเคลือบอนุภาคโลหะ (Metal Sputtering Window Films)

ฟิล์มแบบเคลือบอนุภาคโลหะ ซึ่งจะมีกระบวนผลิตการจะคล้ายๆ ฟิล์มแบบฉาบไอโลหะ โดยการใช้ห้องสุญญากาศที่ออกแบบเป็นพิเศษ เคลือบโดยใช้สนามแม่เหล็กดึงประจุจากโลหะ เพื่อนำมาเคลือบบนแผ่นฟิล์ม ทำให้ชั้นโลหะที่ฉาบนั้นจะเรียงตัวบางกว่า ส่งผลให้ฟิล์มเงาน้อยกว่า มีความใส และสามารถป้องกันรังสีความร้อนได้สูง

ด้วยกระบวนการนี้ทำให้ฟิล์มรถยนต์แบบเคลือบอนุภาคโลหะ Sputter Film นี้ ราคาแพงมากด้วยเช่นเดียวกัน อายุการใช้งานประมาณ 5-7 ปี

4. ฟิล์มรถยนต์นาโน (Nano Window Films)

เป็นฟิล์มที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ ใช้อนุภาคนาโน (อนุภาคขนาด 10−90 นาโนเมตร ) เคลือบเนื้อฟิล์มแทนโลหะ ทำให้ฟิล์มประเภทนี้มีคุณสมบัติเด่นหลายประการ สามารถป้องกันรังสีความร้อนได้ดีเยี่ยม กัน UV99% เนื้อฟิล์มจะใสเคลีย ไม่สะท้อนแสง ทำให้ทัศนวิสัยดีกว่าฟิล์มทั่วๆไป ดำนอกสว่างใน และก็มีความทนทานมากกว่า อายุการใช้งานประมาณ 7-15 ปี

ซึ่งฟิล์มเซรามิค ก็เป็นหนึ่งในฟิล์มนาโนเหมือนกัน บางครั้งเราจึงเรียกฟิล์มเซรามิคว่า “ฟิล์มนาโนเซรามิค” ควบคู่กันไปเลย

แนะนำนำให้อ่านเพิ่มเติม : ฟิล์มเซรามิค คืออะไร?

หากยังไม่แน่ใจว่า ติดฟิล์มแบบไหนดี เรายินดีให้คำปรึกษาครับ
โทรติดต่อtopfilm

ติดต่อfacebooktopfilm

line topfilm

ความเข้มของ ฟิล์มกรองแสงคืออะไร อ่านได้อย่างไร?

ความเข้มฟิล์มกรองแสง

ความเข้มของฟิล์มกรองแสง 40/60/80 คืออะไร? ค่าความเข้ม 40 60 80 จริงๆแล้วคือปริมาณแสงสว่างส่องผ่านที่ผ่านออกจากฟิล์มกรองแสง โดยทั่วไปแล้ว คนไทยจะเรียกฟิล์มกรองแสงอยู่ 3ความเข้ม คือ 40 60 80 นั่นคือ 40 อ่อนสุด 60 เข้มกลางๆ 80 เข้มสูงสุด

ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ ไม่ได้สื่อถึงความเข้มของฟิล์มที่แท้จริง เป็นการบอกค่าความเข้มของฟิล์มกรองแสงคร่าวๆเท่านั้น ถ้าจะดูความเข้มที่แท้จริง ต้องดูที่ค่าแสงสว่างส่องผ่าน หรือ VLT

ฟิล์มกรองแสงความเข้ม80 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 5 % นั่นหมายความว่า ฟิล์มติดอาคารที่แสงส่องผ่าน 3%,5%,7% ก็จะเรียกว่าเป็นฟิล์มเข้ม 80เหมือนกัน

ฟิล์มกรองแสงความเข้ม60 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 15-20 %

ฟิล์มกรองแสงความเข้ม40 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 40 % 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : SolarFX Thailand

ดูตัวอย่างความเข้มฟิล์มกรองแสง

ความเข้มฟิล์มอาคาร 40-60-80

หรือดูคลิปด้านล่าง เพื่อดูความเข้มของฟิล์มกรองแสงได้เลยครับ

ติดฟิล์มดำ หรือฟิล์มปรอท ฟิล์มอะไรดีกว่ากัน

ติดฟิล์มดำ หรือฟิล์มปรอทดี? เป็นคำถามที่หลายๆคนสงสัย ฟิล์มดำ กับฟิล์มปรอท คุณสมบัติอาจจะสามารถกรองแสงได้เหมือนกัน แต่จริงๆแล้ว การผลิตฟิล์มกรองแสงทั้ง2ประเภท มีกระบวนการที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง วันนี้ Topfilm Thailand จะมาแนะนำให้เหมาะกับบ้านของคุณ

ฟิล์มดำ จุดเด่นฟิล์มธรรมดา

  • ฟิล์มดำ ช่วยในการกันแสงได้ดี มีให้เลือกหลายความเข้ม ประสิทธิภาพในการกันความร้อน ขึ้นอยู่กับว่า ใช้สารอะไรเคลือบ เพราะ บางที ฟิล์มกรองแสงสีดำเหมือนกัน จะมีการใช้สารเคลือบที่แตกต่างกันมาก และทำให้ราคา แตกต่างกันมากด้วยเช่นกัน
  • คุณภาพของฟิล์มดำ ขึ้นอยู่กับสารเคลือบฟิล์มกรองแสง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเคลือบฟิล์มกรองแสง ด้วยการย้อมสีดำ จะทำให้การกันร้อนไม่ดี แต่ถ้าเคลือบด้วยสารนาโนเซรามิค ก็จะสามารถฟิล์มดำนั้น กันความร้อนได้สูง ฟิล์มดำ เหมาะสำหรับการติดคอนโด อันเนื่องมาจากแสงสะท้อนน้อย ไม่ทำให้รบกวนห้องฝั่งตรงข้าม

ฟิล์มปรอท

ฟิล์มปรอท ดีไหม

  • ฟิล์มปรอท เป็นฟิล์มที่สะท้อนความร้อนออกด้วยสารโลหะต่างๆ เหมาะสำหรับ บ้านที่คอนโด ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว คนข้างนอกมองเข้ามาข้างในไม่เห็น และต้องการความประหยัด
  • ฟิล์มปรอทนั้น ราคาจะไม่แพง แถมยังสามารถกันร้อนได้สูงมากอีกด้วย แต่ข้อควรระวังคือ ต้องไม่ให้มีห้องฝั่งตรงข้าม อาศัยอยู่ด้วย มิเช่นนั้น แสงสะท้อนสะไปสะท้อนเข้าตาฝั่งตรงข้ามได้ ทำให้คอนโดหลายแห่ง มีกฏข้อห้ามติดฟิล์มแบบปรอท สะท้อนแสงเกิน 30% เป็นต้น

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่

หลายๆคนยังอ่านบทความเหล่านี้เพิ่มเติม

สินค้าและบริการติดฟิล์มอาคาร

topfilm ผลงานติดฟิล์มที่ผ่านมา

“ ยินดีให้คำปรึกษา วันพื้นที่และประเมินราคาติดฟิล์มกรองแสง หน้างานฟรี โทร.0922-689-689

TOPFILM มีฟิล์มตัวอย่างจริงให้เลือกดูอย่างหลากหลาย พร้อมเครื่องทดสอบคุณภาพฟิล์ม

โทรติดต่อtopfilm

ติดต่อfacebooktopfilm

line topfilm