คู่มือฉบับสมบูรณ์ Checklist 8 เรื่องน่ารู้ก่อน ติดฟิล์มบ้าน ต้องรู้อะไรบ้าง?
การติดฟิล์มกระจกบ้านนั้น หลายๆคนคงจะคุ้นเคยกับคำว่า “ฟิล์มกรองแสง” มาก็ไม่น้อยเลยใช่มั้ยครับ เพราะทุกท่านน่าจะเคยติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์มาบ้างแล้ว แต่ การเลือกฟิล์มติดกระจกบ้าน นั้น มีเรื่องจะต้องรู้มากกว่าการติดฟิล์มรถยนต์หลายอย่าง ถึงแม้จะเป็น ฟิล์มกรองแสงที่ผลิตด้วยโพลิเอสเตอร์ เหมือนกัน แต่คุณสมบัติก็อาจจะไม่เหมือนกันเสมอไป
หลายคนยังสนใจบทความเพิ่มเติม: ฟิล์มบ้าน กับ ฟิล์มรถยนต์ ต่างกันอย่างไร?
ปรึกษาเรื่องการติดฟิล์มกระจกบ้านได้ก่อนใคร พร้อมส่วนลดพิเศษ
วันนี้ทีมงาน Topfilm Thailand จะมาแนะนำ “8 เรื่องน่ารู้ก่อน ติดฟิล์มบ้าน” เป็น “คู่มือฉบับสมบูรณ์” ซึ่งเราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฟิล์มอาคารจากเว็บพันทิพ (Pantip) และ จากประสบการณ์ที่ทำงานในวงการณ์ฟิล์มกรองแสงมากว่า 10ปี
ก่อนที่ทุกท่านจะเลือกฟิล์มกรองแสงบ้าน อาคาร ฟิล์มติดกระจกคอนโด อยากให้เข้ามาอ่านตรงจุดนี้ก่อน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์มากที่สุดครับ
เมื่อเราติดฟิล์มบ้านในแต่ละครั้ง ฟิล์มกรองแสงก็จะอยู่กับเราไปอีกอย่างน้อย 5-10 ปี ไม่อยากให้คุณลูกค้าต้องเสียใจบ่อยๆกับการติดฟิล์มกรองแสงที่ไม่ตอบโจทย์ มาดูกันเลยครับว่า เราต้องรู้อะไรบ้าง
1. รู้จักประเภทของฟิล์มติดกระจกบ้าน
รู้ประเภทของฟิล์มติดอาคาร : คุณลูกค้าต้องรู้ความเหมาะสมของการฟิล์มกรองแสงติดอาคาร ในแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นฟิล์มปรอท ฟิล์มดำ ฟิล์มใส ฟิล์มเซรามิค ต้องรู้คุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสียให้ชัดเจน ที่สำคัญต้องอ่าน คุณสมบัติของฟิล์มกรองแสงให้เป็น เช่นค่าลดความร้อนรวม ค่าการป้องกันรังสีต่างๆ โดยฟิล์มติดอาคารนั้น จะแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
- ฟิล์มปรอท คือ ฟิล์มกรองแสงที่เคลือบด้วยสารกันความร้อนประเภทโลหะ ทำให้เนื้อฟิล์มมีความมันวาว คล้ายกับกระจก มีข้อดีคือ กันความร้อนได้ดีมาก ราคาถูก สะท้อนแสงได้ดี ให้ความเป็นส่วนตัว แต่ ข้อเสียคือ จะมีการสะท้อนแสงทำให้อาจจะรบกวนบ้านฝั่งตรงข้ามได้ และ ทัศนวิสัยเมื่อมองจากภายในไม่ชัดเจน เหมาะสำหรับ บ้านชั้น 1 ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง บ้านที่ต้องการฟิล์มกรองแสงราคาถูก แต่กันร้อนได้ดี
- ฟิล์มดำ คือฟิล์มกรองแสงที่เคลือบด้วยสารต่างๆ ทำให้มีสีดำเข้ม สามารถป้องกันแสงสว่างได้ดี ลดรังสี UV และอาการแสบตา ถ้าจะติดฟิล์มดำ ต้องมั่นใจว่าติดฟิล์มดำที่ความเข้มที่เหมาะสม (40/60/80) ไม่เช่นนั้น ห้องก็จะมืดเกินไปได้ ซึ่งจะอธิบายอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไป
- ฟิล์มใส เป็นฟิล์มที่ใส แต่เน้นการป้องกันรังสีความร้อนโดยเฉพาะ ไม่บดบังทัศนวิสัย กันรังสีความร้อน รังสีUV ได้ดี เหมาะสำหรับร้านค้า ร้านอาหาร โชว์รูม ที่ต้องการโชว์ของหน้าร้าน แต่ถ้าจะเน้นกันร้อนสูง ฟิล์มใส แต่จะกันร้อนสู้ฟิล์มดำหรือฟิล์มปรอทไม่ได้
- ฟิล์มเซรามิค เป็นฟิล์มกรองแสงที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ใช้เทคโนโลยีนาโนเซรามิคในการเคลือบฟิล์มกรองแสง ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากใน 3-5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่นเรื่อง ดำเข้มจากภายนอก คมชัดจากภายใน หรือในบางครั้งเราก็เรียกฟิล์มประเภทนี้ง่ายๆว่า “ฟิล์มดำนอกสว่างใน” ฟิล์มเซรามิค สามารถกันความร้อนได้สูงมากอีกด้วย นั่นจึงทำให้ฟิล์มเซรามิค ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และยังเป็นที่นิยมสำหรับการติดฟิล์มบ้าน ฟิล์มคอนโดมากอีกด้วย เนื่องจากสะท้อนแสงน้อย สามารถติดได้ทุกที่ ราคาไม่สูงมาก
เช็คราคาติดตั้งฟิล์มกรองแสงประเภทต่างๆ
ข้อควรรู้ ฟิล์มกรองแสงทุกชนิด ทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะถูกที่สุด หรือแพงที่สุด สามารถป้องกันรังสี UV ได้ 99% แต่ จะแตกต่างกันที่ความเข้ม และการป้องกันความร้อน เพราะฉะนั้น การป้องกันรังสี UV99% ไม่ใช่คุณสมบัติพิเศษ หรือเป็นจุดเด่น จุดขาย ของฟิล์มกรองแสงติดอาคารแต่อย่างใด แต่เป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ควรมีอยู่แล้ว
สอบถามราคา ฟิล์มกรองแสงประเภทต่างๆ ติดต่อเราสิครับ
ติดฟิล์มดำ หรือ ฟิล์มปรอทดี?
หลายคนยังสงสัย ลังเลว่า ติดฟิล์มดำ VS ฟิล์มปรอท เนื่องจากฟิล์มติดกระจกแต่ละชนิด ราคา คุณภาพ คุณสมบัติไม่เหมือนกัน เรามีคำตอบที่คลิปด้านล่างครับ หรือจะปรึกษาเราได้เลย Line:Topfilmthai โทร.0922689689
2. รู้ความเข้มฟิล์มติดอาคารที่ต้องการ 40/60/80
ติดฟิล์มอาคาร ความเข้มเท่าไรดี? อันเนื่องจากมากฟิล์มกรองแสงมีหลากหลายความเข้ม ไม่ว่าจะเป็น ฟิล์มเข้ม 40/60/80 และฟิล์มใส ซึ่งแต่ละความเข้ม เหมาะสำหรับห้องชนิดไม่เหมือนกัน และ ที่สำคัญต้องดูทิศทางของแสงแดดด้วยประกอบด้วย อาทิ
- ห้องที่อยู่ที่ทิศตะวันตก ที่แสงแดดเข้ามาตลอดทั้งบ่าย อาจจะต้องเลือกฟิล์มที่มาความเข้มกลางๆ แนะนำ ฟิล์มกรองแสงความเข้ม 60%
- ห้องนอน ที่อยากได้ความมืด ความเป็นส่วนตัว ผมก็แนะนำให้เลือกความเข้ม 80%
- ส่วนห้องรับแขก ห้องทานข้าว ก็แนะนำความเข้มฟิล์มกรองแสงที่40% ทำให้ดูโปร่งสบาย ไม่อึดอัด
- ห้องที่อยู่ชั้นล่างสุด ติดถนนหรือทางเดิน ไม่อยากให้ใครมองเข้ามาข้างในเห็น แนะนำให้ติดฟิล์มกรองแสงความเข้ม 80%
สามารถดูความเข้มของฟิล์มอาคารอย่างละเอียดได้ที่คลิปด้านล่างครับ
ความเข้มของฟิล์มติดอาคาร ดูอย่างไร? การจะเรียกความเข้มของฟิล์มติดอาคารให้ถูกต้องนั้น จริงๆแล้วต้องเรียกความเข้มจากค่าแสงสว่างส่องผ่าน (Visible Light Transmittance หรือ VLT)จะมีความแม่นยำที่สูงที่สุด อันเนื่องมากจาก การเรียกความเข้ม 80/60/40 เป็นการเรียกแบบคร่าวๆเท่านั้น นึงเป็นเหตุผลให้ บางครั้ง ฟิล์ม60 เหมือนกัน แต่ก็มีความเข้มต่างกัน ก็เป็นได้ เพราะ
- ฟิล์มเข้ม80 คือ ฟิล์มกรองแสงที่มีแสงสว่างส่องผ่าน (Visible Light Transmittance) ประมาณ 3-7%
- ฟิล์มเข้ม60 คือ ฟิล์มที่ยอมให้แสงสว่างส่องผ่าน (Visible Light Transmittance) ประมาณ 15-20%
- ฟิล์มเข้ม40 คือ ฟิล์มที่แสงสว่างส่องผ่าน (Visible Light Transmittance หรือ VLT) ประมาณ 30-40%
- ฟิล์มใส คือ ฟิล์มที่มีแสงสว่างส่องผ่าน (Visible Light Transmittance หรือ VLT) ประมาณ 70%
ดูตัวอย่างฟิล์มดำความเข้มต่างๆ ได้เพิ่มเติมที่บทความนี้ครับ: ตัวอย่างความเข้มฟิล์มดำ 40/60/80
ถ้ายังไม่แน่ใจว่า เลือกความเข้มฟิล์มกรองแสง หรือ ฟิล์มแบบไหนดี ปรึกษาเราสิครับ ยินดีให้คำปรึกษา Line:Topfilmthai โทร.0922689689
3. รู้จักยี่ห้อฟิล์มติดบ้าน
ต้องรู้ว่ายี่ห้อฟิล์มกรองแสงอะไร? เหมาะสำหรับติดอาคาร ที่มีความน่าเชื่อถือ ฟิล์มกรองแสงแบบไหนเหมาะสำหรับติดอาคาร ติดบ้าน โดยเฉพาะ โดยเฉพาะฟิล์มกรองแสง 4 ยี่ห้อดัง นั่นก็คือ ฟิล์มลามินา, ฟิล์ม Hi-kool, ฟิล์มอาคาร 3M, ฟิล์มกรองแสง iQue(V-kool)
ฟิล์มกรองแสงยี่ห้อดังรุ่นไหน ใช้ติดอาคารโดยเฉพาะ? ฟิล์มติดกระจกอาคาร 4 ยี่ห้อดังนี้ ฟิล์ม Lamina, ฟิล์ม Hi-kool, ฟิล์มอาคาร 3M, ฟิล์มกรองแสง iQue(V-kool) จะมีช่างติดฟิล์มบ้านหลายๆที่ใช้ฟิล์มรถยนต์มาติดฟิล์มอาคาร ทำให้ไม่คงทน ไม่ได้คุณภาพ เพราะ ฟิล์มติดรถยนต์ จะเป็นคนละรุ่นกับฟิล์มติดอาคาร ทำให้เนื้อฟิล์มมีความแตกต่าง และคงทนน้อยกว่า
การจะติดฟิล์มบ้านที่ดีนั้น ควรจะเจาะจงไปโดยเฉพาะ ว่าให้ใช้ฟิล์มติดอาคารเท่านั้น เช่น
- ฟิล์มLamina ให้เจาะจง ฟิล์มติดอาคาร ลามินา ลูมา ไม่ควรใช้ฟิล์มติดรถยนต์ เช่น ฟิล์มลามินา POP เป็นต้น
- ฟิล์มHi-Kool ให้เลือก ฟิล์มติดอาคาร Hi-kool รุ่น Elite
- ฟิล์ม3M จะมีหลายรุ่นให้เลือก เช่น FX-HP, NV, CM, PR ไม่ควรใช้ฟิล์มกรองแสงติดรถ3M มาติด เช่น ฟิล์มปรอทรุ่น FXR
- ฟิล์มV-kool ให้เลือกฟิล์มอาคารโดยเฉพาะ นั้นก็คือ ฟิล์มยี่ห้อ iQue มีหลากหลายรุ่นให้เลือก ไม่แนะนำให้ใช้ฟิล์มรถยนต์ รุ่น VK มาติดฟิล์มอาคาร เป็นต้น
แนะนำให้อ่านเรื่องยี่ห้อฟิล์มติดอาคารอย่างละเอียด ที่บทความนี้: ติดฟิล์มบ้าน ฟิล์มอาคาร ยี่ห้อไหนดี?
หลายครั้งคนจะถามถึงว่า ยี่ห้อฟิล์มกรองแสง ยี่ห้อไหนดีที่สุด? เพราะอย่างที่ทุก ๆ คนทราบกัน ฟิล์มกรองแสง ในประเทศไทย มีอยู่ 4 ยี่ห้อที่ครองตลาดฟิล์มกรองแสงอยู่ นั้นก็คือ ฟิล์ม Lamina, ฟิล์ม Hi-Kool, ฟิล์ม 3M, และ ฟิล์ม V-kool (iQue) และยังมีฟิล์มกรองแสงอื่นๆมากมายอีกเป็นหลายร้อยยี่ห้อ แล้วฟิล์มกรองแสงยี่ห้อไหนหละ ที่ดีที่สุด เหมาะกับบ้านเรามากที่สุด อยากรู้ คลิกเลย
Topfilm ยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ ยี่ห้อติดฟิล์มอาคารที่ดีที่สุดเพิ่มเติมครับ
5. ติดฟิล์มกรองแสงจากบริษัทที่เชื่อถือได้
เนื่องจากในปัจจุบัน บริษัทติดฟิล์มกรองแสงมากมายเต็มไปหมด เลือกอย่างไรดี? รวมถึงมีช่าง Freelance ราคาถูก วิ่งรับงานติดตั้งฟิล์มเองมากพอสมควร เพราะฉะนั้น เราจะดูได้อย่างไรว่าติดฟิล์มกรองแสงจากบริษัทที่เชื่อถือได้
- มีประสบการณ์ในการติดตั้ง ดูจากผลงานการติดตั้งที่ผ่านมา และทีมงานที่ได้รับความไว้วางใจในการรับงานใหญ่ ไม่เพียงแค่ติดบ้าน และ คอนโดเท่านั้น
- ไม่ทิ้งงาน เป็นปัญหาที่หลายๆคนต้องพบเจอ อันเนื่องมาจากการติดตั้งงานที่ไม่เรียบร้อย มีฝุ่นเยอะ แต่ตอนเรียกให้มาแก้ไขหรือให้มาเคลม ก็ไม่มา
- ใช้ฟิล์มกรองแสงแท้ เป็นข้อควรระวังสูงสุด!!! อันเนื่องมาจาก ลูกค้าไม่มีทางรู้ว่าฟิล์มติดอาคารที่ใช้นั้น เป็นของแท้หรือของปลอม โดยเฉพาะฟิล์มกรองแสงยี่ห้อดัง มักจะมีการปลอมแปลงฟิล์มกรองแสงกันเสมอๆ ในหลายๆครั้ง บริษัทผู้ผลิต ก็พยายามจะสกรีนโลโก หรือรหัสลงในแผ่นฟิล์มกรองแสง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ยังสามารถปลอมแปลงได้อยู่ดี ถ้าจะให้ดี บริษัท หรือช่างที่ติดตั้ง ควรมีเครื่องวัด Spec ฟิล์มมาติดตั้งหน้างานด้วย เทียบกับใน Spec ที่ระบุไว้ในโบรชัวหรือเว็บไซต์ด้วย
- มีใบรับประกันฟิล์มติดอาคารโดยเฉพาะ จะรับประกันฟิล์มติดอาคาร ประมาณ 5-10 ปี ซึ่ง “ใบรับประกันฟิล์มกรองแสงรถยนต์ ไม่สามารถทดแทนกันได้” ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องมาจากฟิล์มกรองแสง บริษัทผู้ผลิตจะไม่ได้เป็นคนรับผิดชอบในสิ่งนี้ แต่จะต้องเป็นผู้ติดตั้ง ที่ต้องมารับผิดชอบด้วยตนเอง
-
Topfilm Thailand เราเป็นบริษัทรับติดฟิล์มอาคารที่ยินดีให้บริการ แลให้คำปรึกษาอย่างเต็มใจ หากมีปัญหา ยินดีให้คำปรึกษา Line:Topfilmthai โทร.0922689689
6. รู้งบประมาณการติดตั้งฟิล์ม
ตรวจสอบราคาของ ฟิล์มติดบ้าน แต่ละรุ่นให้เพียงพอกับงบประมาณของตัวเอง เพราะ ฟิล์มกรองแสงที่ดี ไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป ราคาของฟิล์มกรองแสงมีตั้งแต่ราคาตารางฟุตละ 49 บาท ไปจนถึง ตารางฟุตละ 400 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของทุกท่าน และนี่ก็เป็นราคาคร่าวๆของฟิล์มติดอาคาร แต่ละยี่ห้อ
- ฟิล์มกรองแสงลามินาLamina ราคาเริ่มต้นที่ ตรฟ.ละ 120 บาท
- ฟิล์มติดอาคาร Hi-kool ราคาเริ่มต้นที่ ตรฟ.ละ 75 บาท
- ฟิล์มติดอาคาร 3M ราคาเริ่มต้นที่ ตรฟ.ละ 120 บาท
- ฟิล์มกรองแสง iQue (V-kool) ราคาเริ่มต้นที่ ตรฟ.ละ 150 บาท
- ฟิล์มเซรามิค SolarFX, Global ราคาเริ่มต้น ตรฟ.ละ 150 บาท
- ฟิล์มปรอท HeatGard ราคาเริ่มต้น ตรฟ.ละ 65 บาท
- ฟิล์มดำคาร์บอน ราคาเริ่มต้น ตรฟ.ละ 49 บาท
แนะนำให้อ่านเพิ่มเติมครับ: วิธีคำนวนราคาฟิล์มติดอาคารอย่างละเอียด
ซึ่งราคาเหล่านี้เป็นราคาเบื้องต้น จะต้องตรวจสอบหน้างานที่จะติดตั้งด้วย อยากให้เราประเมินราคาหน้างาน ฟรี Line:Topfilmthai โทร.0922689689
7. ต้องตรวจสอบหน้างาน ก่อนติดฟิล์มบ้าน
เช็คหน้างาน ก่อนติดฟิล์มอาคาร อย่างไร? ก่อนติดฟิล์มกระจกอาคาร บ้าน คอนโดนั้น ต้องมีการตรวจสอบก่อนว่าสามารถติดฟิล์มกรองแสงบ้านได้หรือไม่ โดยมีปัจจัยที่ต้องพิจารณา ดังนี้
- มีเหล็กดัดบังหรือไม่? ถ้ามีเหล็กดัดบัง สามารถถอดได้หรือไม่ หรือในบางครั้ง ไม่ต้องถอดเหล็กดัด ก็สามารถติดได้เช่นกัน
- เป็นขอบกระจกประเภทไหน? ว่าเป็นขอบกระจกซิลิโคน หรือเป็นขอบกระจกอลูมิเนียม หรือเป็นขอบไม้ เพราะจะต้องใช้เทคนิคในการติดที่ต่างกัน และใช้เวลาในการติดฟิล์มกระจกบ้านต่างกันด้วย
- ดูความสูงในการติด ว่าสูงกี่เมตร? ต้องใช้บันไดกี่ชั้น นั่งร้าน กี่ชั้น ถ้าอันตรายมาก บางตำแหน่งอาจจะไม่สามารถติดตั้งฟิล์มกรองแสงได้
- ต้องมีการลอกฟิล์มเก่าก่อนหรือไม่? เพราะอุปกรณ์การลอกฟิล์มเก่า จะต้องมีการใช้น้ำยาลอกฟิล์ม ที่ต้องมีการเตรียมล่วงหน้าด้วย
หากคุณลูกค้าประเมินด้วยตนเองแล้ว ไม่แน่ใจว่าติดตั้งได้หรือไม่ ให้ถ่ายรูปหน้างานส่งมาให้เราประเมินก่อน หรือ ต้องให้ทางทีมงานไปประเมินหน้างานเพื่อความมั่นใจ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา และทำให้การทำงานติดตั้งฟิล์มอาคาร มีประสิทธิภาพสูงสุด โทรเลย 0922689689
8. ต้องรู้วิธีการดูแลหลังการติดตั้งฟิล์มบ้าน
วิธีดูแลฟิล์มติดกระจกอาคารอย่างไรให้คุณภาพดีสม่ำเสมอ อย่างไร? หลายๆคนมีแม่บ้านคอยทำความสะอาดอยู่แล้ว แต่ทำความสะอาดได้ไม่ถูกวิธี นั่นทำให้ ฟิล์มติดกระจกบ้าน ของเรา เสื่อมเร็วกว่าที่ควร
เพราะฉะนั้นหลังจากติดตั้งฟิล์มกรองแสงแล้ว มีข้อควรปฏิบัติดังนี้
- หลีกเลี่ยง การเช็ดกระจกเป็นเวลาประมาณ 7 วันหลังการติดตั้งฟิล์มกรองแสง (เพื่อป้องกันฟิล์มเลื่อน)
- ห้าม ใช้ผ้าหยาบ, ขนแปรง, สก็อตซ์ไบรต์, กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือวัสดุอื่นๆ เช็ดลงบนเนื้อฟิล์ม (ทำให้ฟิล์มเป็นรอยได้)
- ห้าม เช็ดด้วยน้ำยาล้างกระจกที่มีส่วนผสมของแอมโมเนีย เนื่องจากแอมโมเนียจะทำปฏิกริยากับฟิล์มติดอาคาร ส่งผลให้กาวเสื่อมสภาพ
เมื่อทุกท่านทราบข้อมูลเหล่านี้แล้ว ท่านก็สามารถติดตั้งฟิล์มกระจกบ้านได้อย่างสบายใจ และดูแลได้อย่างถูกต้อง ไม่ต้องกังวล รับประกันว่าคุณภาพของฟิล์มกรองแสงจะอยู่ได้นานแน่นอน
สรุป
การจะติดฟิล์มกระจกบ้าน ฟิล์มอาคารให้มีประสิทธิภาพดีนั้น ไม่เพียงแค่เลือกความเข้มของฟิล์มหรือยี่ห้อของฟิล์มเท่านั้น ต้องดูความเหมาะสมในหลายๆด้านด้วน ไม่ว่าจะเป็น ราคาติดตั้ง หน้างานการติดตั้ง ประเภทของฟิล์มกรองแสงที่เหมาะสมกับห้องของตัวเอง ทางที่ดี ควรจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อน เพิ่มประสิทธิภาพการติดตั้งฟิล์มอาคารที่สูงสุด
หลายๆคนยังอ่านบทความเหล่านี้เพิ่มเติม
- ติดฟิล์มกรองแสงหรือม่านดี
- วิธีการติดฟิล์มอาคาร
- วิธีการดูแลรักษาฟิล์มให้อายุยาวนาน
- ฟิล์มยี่ห้อต่างๆมีอะไรบ้าง
TOPFILM Thailand ผู้เชี่ยวชาญและให้บริการรับติดฟิล์มบ้านในราคาที่คุ้มค่าต่อการลงทุน ติดฟิล์มคอนโดคุณภาพสูง ราคาถูก เพราะฟิล์มบ้านจะอยู่กับเราไปอีกหลายปี Topfilm Thailand เรามีทีมช่างที่เชี่ยวชาญประสบการณ์มากกว่า 10 ปี พร้อมให้คำแนะนำการเลือกฟิล์มติดบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรายินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับฟิล์มติดบ้านทุกชนิด มีบริการให้คำแนะนำถึงสถานที่ติดตั้ง ฟรี
โทร : 092-2689-689, 02-003-3583
Email : topfilm.th@gmail.com
Facebook : https://www.facebook.com/Topfilmthailand/
LINE : Topfilmthai