ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ด้วยสภาพภูมิประเทศของไทยเป็นรูปแบบเขตร้อนชื้นพบเจอความร้อนและฝนบ่อยกว่าความเย็นในช่วงฤดูหนาวซะอีก อุปสรรคสำหรับคนใช้รถใช้ถนนเลยเป็นเรื่องของการใช้รถในช่วงหน้าฝนนี่ล่ะ เพราะมีโอกาสต้องขับรถลุยน้ำแล้วรถเกิดปัญหาได้
หลายคนยังสนใจ บทความน่ารู้เพิ่มเติม
ดังนั้น บทความนี้เลยขอชวนคนรักรถมารู้ 7 วิธีขับรถลุยน้ำท่วม ไม่ให้รถพังกันเถอะ
มีอะไรกันบ้างเราตามมาดูกันเลย!!
6 วิธีขับรถลุยน้ำท่วม เคล็ด(ไม่)ลับ
พอจะนึกภาพออกแล้วใช่ไหมล่ะว่า ทำไมถึงต้องระวังเรื่องของการขับรถลุยน้ำ เพราะรถยนต์ที่คุณรักอาจมีปัญหาตามมาได้ไม่น้อยเลย
ดังนั้น เลยอยากชวนทุกคนมาเก็บเคล็ด(ไม่)ลับ 6 วิธีขับรถลุยน้ำท่วม เตรียมพร้อมรับฝนที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกฤดูของท้องถนนประเทศไทยกัน
1. ประเมินสถานการณ์ก่อนขับรถลุยน้ำ
เดี๋ยวก่อน! อย่าพึ่งรีบขับรถลุยน้ำ เพราะวิธีขับรถลุยน้ำข้อแรกที่คนรักรถควรทำตามก็คือ ประเมินก่อนลุย ทั้งในเรื่องของสถานการณ์ปริมาณน้ำที่ท่วมขังและความสูงของรถยนต์ เพราะน้ำอาจไหลเข้าตัวรถยนต์หรือส่วนสำคัญที่ทำให้รถพังได้ เช่น
- ไม่เกิน 20 ซม. : ความสูงจะอยู่ที่ประมาณครึ่งล้อของรถยนต์ขนาดเล็ก เลยสามารถขับรถลุยน้ำได้
- ประมาณ 20-40 ซม. : สูงเกินครึ่งล้อรถยนต์ขนาดเล็ก หากขับรถลุยน้ำผ่านจะต้องวางแผนใช้วิธีขับรถลุยน้ำตามความเหมาะสม เพราะอาจเข้าบริเวณส่วนท่อไอเสียรถยนต์ได้
- ประมาณ 40-60 ซม. : จะใช้วิธีขับรถลุยน้ำต้องระวัง เพราะมีโอกาสที่จะขับรถลุยน้ำไม่ไหว และอาจเกิดปัญหากับรถยนต์ที่คุณรักตามมาได้
- ประมาณ 60-80 ซม. ขึ้นไป : ถ้าสังเกตระดับน้ำขนาดนี้บอกตามตรงว่า ไม่ควรขับรถลุยน้ำไปอย่างเด็ดขาด เพราะรถอาจมีปัญหากะทันหันหรือถึงขั้นเกิดอุบัติเหตุระหว่างขับรถได้เลย
2. ชะลอความเร็ว
ไม่ใช่แค่ต้องระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการที่ถนนลื่น แต่วิธีขับรถลุยน้ำจะต้องชะลอความเร็ว (แนะนำที่ประมาณ 60-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) และรักษาระดับให้สม่ำเสมอ ไม่เร่งเครื่องกะทันหัน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าภายในรถยนต์ นอกจากนี้หลังจากขับรถลุยน้ำมาแล้วอาจเหยียบเบรกเบาๆ ย้ำๆ เพื่อช่วยไล่ความชื้นให้ผ้าเบรกกับจานเบรกหรือดรัมเบรกอยู่ในสภาพปกติเมื่อมีการสัมผัสกันตอนเบรกแห้ง
3. สังเกตเครื่องยนต์ขณะขับ
ในระหว่างขับรถลุยน้ำไม่ใช่แค่ต้องระวังการขับตามวิธีขับรถลุยน้ำ แต่ยังต้องสังเกตเครื่องยนต์ขณะขับด้วยว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น เครื่องกระตุก ฯลฯ หากไม่ไหวก็อย่าฝืนลุยต่อ เพราะความเสียหายอาจเกิดหนักขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ทำให้ต้องเสียเงินเสียเวลามากกว่าเดิมไปอีก แถมอาจเป็นอันตรายแก่ผู้ขับขี่เองด้วย
4. ปิดการใช้งานเครื่องปรับอากาศ
บางคนอาจจะสงสัยว่า การขับรถลุยน้ำจำเป็นต้องปิดการใช้งานเครื่องปรับอากาศด้วยหรอ ความจริงแล้วก็คือ ใช่ โดยเฉพาะการขับลุยน้ำในระดับที่สูงกว่า 10 เซนติเมตรขึ้นไป เพราะน้ำอาจถูกพัดเข้าสู่เครื่องยนต์ หรือระบบไฟฟ้าได้ ไม่งั้นในส่วนของพัดลมระบายความร้อนของหม้อน้ำอาจมีปัญหาได้ เมื่อน้ำท่วมถึงพัดลมก็จะทำให้พัดลมตีน้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่องเป็นสาเหตุที่ทำให้รถยนต์ดับหรือเกิดไฟฟ้าช็อตได้เหมือนกัน
5. ขับรถลุยน้ำด้วยการใช้เกียร์ต่ำ
ระหว่างที่ขับรถลุยน้ำขอแนะนำให้ใช้เกียร์ต่ำ เครื่องยนต์ 1,500-2,000 รอบต่อนาที เพื่อลดโอกาสเกิดปัญหาเครื่องยนต์ดับให้เกิดได้ยากสุด สำหรับรถธรรมดา ขอแนะนำให้ใช้เพียงเกียร์ 1 หรือ 2 เท่านั้น ส่วนรถเกียร์ออโต้ขอแนะนำให้ขับด้วยเกียร์ L ถ้าสูงกว่านี้ก็อาจจะดูดอากาศและน้ำเข้าเครื่องยนต์ได้ หรือหากต่ำกว่านี้เครื่องยนต์อาจดับกลางทางได้เหมือนกัน นอกจากนี้อาจดูตามสถานการณ์มาพิจารณาเรื่องการใช้เกียร์อีกทีตามความเหมาะสมด้วยก็ได้
6. ขับด้วยการรักษาระยะห่างกว่า 2 เท่า
จากเดิมเคยรักษาระยะห่างระหว่างรถคันอื่นเท่าไหร่ ช่วงเวลาที่ต้องขับรถลุยน้ำควรจะต้องรักษาระยะห่างให้มากกว่าเดิม 2 เท่า เพราะไม่รู้ว่า น้ำที่ท่วมอยู่บนท้องถนนจะสร้างอันตรายให้แก่ทรัพย์สินอย่างรถยนต์ที่คุณรักหรือตัวคุณเองด้วยหรือไม่ อย่างน้อยปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่าเยอะ!
7. หากเครื่องดับ ไม่ไหวอย่าฝืน
หากเกิดกรณีที่แย่สุด คือ ตัดสินใจขับรถลุยน้ำท่วมไปแล้ว รถดันเกิดดับกลางทาง ขอแนะนำให้หยุดฝืนจะสตาร์ทรถแล้วขับต่อ เพราะน้ำจะยิ่งเข้าเครื่องยนต์ทำให้เสียหายหนักกว่าเดิม เป็นไปได้ควรเข็นเข้าข้างทางในบริเวณที่เป็นพื้นที่สูง เพื่อไม่ให้น้ำไหลเข้าสู่รถยนต์
วิธีดูแลรถยนต์หลังขับรถลุยน้ำ
หลังจากขับรถลุยน้ำมาแล้ว ไม่ว่าจะตามวิธีขับรถลุยน้ำตามที่เรานำมาฝากในบทความนี้หรือไม่ก็ตาม ต้องไม่พลาดวิธีดูแลรถยนต์หลังขับลุยน้ำด้วย โดยมีวิธีดูแลรถหลังขับลุยน้ำ ดังนี้
- หลังจากขับรถลุยน้ำท่วมแล้วไม่ควรดับเครื่องทันที เพราะอาจทำให้น้ำที่ค้างอยู่ที่ท่อไอเสียย้อนกลับเกิดความชื้นสะสมได้
- ส่งเข้าศูนย์ เพื่อตรวจสอบสภาพรถยนต์หลังขับรถลุยน้ำแบบละเอียด หากไม่มั่นใจว่า เกิดความชื้นสะสมหรือเกิดปัญหากับตัวเครื่องที่มีผลกับการขับขี่ในส่วนไหนบ้าง เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานครั้งถัดไปและลดโอกาสเกิดความเสียหายซ้ำซ้อน
- ตรวจสอบการใช้งานของเบรก ด้วยการเหยียบเบรกสัก 2-3 ครั้ง ก่อนที่จะขับรถต่อไป เพื่อช่วยให้ผ้าเบรกกับจานเบรกหรือดรัมเบรกอยู่ในสภาพปกติ โดยรถเกียร์ออโต้ ควรย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรก ส่วนรถเกียร์ธรรมดา ควรย้ำคลัตช์ เพื่อป้องกันคลัตช์ลื่น และไม่ควรขับรถเร็วเกินไป เพื่อความปลอดภัย
- ตรวจสอบระบบอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ตรวจสอบภายในกล่องฟิวส์ว่ามีความเสียหายหรือไม่ หากมีความเสียหายที่ฟิวส์ใดก็ควรเปลี่ยนทันที
- ตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์ หากพบว่าเครื่องยนต์มีอาการผิดปกติ เช่น กระตุก เร่งเครื่องไม่ขึ้น หรือเสียงดังกว่าปกติ ควรจะจอดรถแล้วตรวจสอบทันที
- ตรวจสอบภายในห้องโดยสาร ให้สังเกตที่พรมปูพื้น หากพบว่าด้านใต้พรมมีน้ำแฉะ ให้รีบนำพรมออกตากแดด ควรดูดหรือเช็ดออกให้แห้งทันที ไม่ควรทิ้งให้น้ำขังอยู่ภายในรถ
- เปิดประตูระบายอากาศและทำความสะอาดทั้งในและนอกรถให้เรียบร้อย ป้องกันแหล่งสะสมเชื้อราและเชื้อโรคจากความชื้นหลังขับรถลุยน้ำ แม้แต่ใต้พรมก็ควรดู เพราะไม่รู้ว่า น้ำหรือความชื้นมาสะสมถึงภายในรถยนต์หรือไม่ ถ้ามีควรดูดหรือเช็ดออกให้แห้งทันที
ปัญหาพบบ่อยเมื่อขับรถลุยน้ำ
เมื่อขับรถลุยน้ำแบบไม่ถูกวิธีหรือไม่ได้ดูแลรักษาบำรุงตามความเหมาะสมก็อาจพบปัญหาเหล่านี้ภายหลังจากขับรถลุยน้ำได้เหมือนกัน เช่น
- ลูกปืนล้อ : จารบีที่เป็นสารหล่อลื่นจะถูกละลายไหลไปกับสายน้ำขณะที่ขับรถลุยน้ำ หากไม่ดูแลหรือใช้วิธีขับรถลุยน้ำแบบผิดวิธีก็อาจมีปัญหาลูกปืนล้อเสื่อมสภาพไวได้เหมือนกัน
- ระบบเบรก : ด้วยความที่เบรกมักผลิตจากโลหะพอสัมผัสกับน้ำก็มีโอกาสที่จะกักเก็บความชื้นจนเกิดสนิม สิ่งสกปรกปนเปื้อน เกิดร่องรอย การใช้งานติดขัดตามมาได้
- ระบบปรับอากาศ : ทราบหรือไม่ ความชื้นไม่ได้ทำให้ระบบการทำงานในส่วนต่างๆ ของรถยนต์ที่คุณรักแล้วนำไปขับรถลุยน้ำต้องเสื่อมสภาพไวมากขึ้นอย่างเดียว เลยมีความเสี่ยงที่จะเกิดความชื้นสะสมจนกลายเป็นกลิ่นอับ ผู้ใช้งานต้องสูดดมเชื้อโรคเชื้อราที่หมักหมมไว้ก็เป็นได้
- ฯลฯ
สรุป วิธีขับรถลุยน้ำ
ถึงจะเลี่ยงสภาพถนนหรือฤดูกาลไม่ได้ แต่อย่างน้อยการมีวิธีขับรถลุยน้ำติดตัวไว้จะช่วยให้คนรักรถที่ต้องการถนอมรถคู่ใจให้อยู่ไปได้อีกนานได้แน่นอน เพราะงั้นเจอน้ำท่วมหรือต้องลุยฝนเมื่อไหร่ อย่าลืมนำเอาวิธีที่เรานำมาฝากในบทความนี้ไปปรับใช้ก่อนขับรถลุยน้ำท่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ประเมินสถานการณ์ก่อนขับรถลุยน้ำโดยพิจารณาความสูงของน้ำและระดับรถยนต์ เพื่อป้องกันความเสียหาย หรือ ชะลอความเร็วขณะขับรถลุยน้ำเพื่อป้องกันการสกัดหรือน้ำไหลเข้ารถ เป็นต้น เพียงเท่านี้เราการันตีว่า ขับลุยน้ำรอบนี้รถไม่มีพังแน่นอน!
หลายคนยังสนใจ บทความน่ารู้เพิ่มเติม
- รีไฟแนนซ์รถยนต์คืออะไร มีแบบไหน ขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
- แบตเตอรี่รถยนต์ต้องเลือกแบบไหน ยี่ห้อไหนดี? (2023)
- อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันรถยนต์: วิธีประหยัดน้ำมันที่ควรรู้!
ขับรถมาไกลแล้ว อยากติดฟิล์มรถยนต์ ติดต่อ Topfilm Thailand ได้เลยครับ