ฟิล์มกรองแสง คือ?
ฟิล์มกรองแสงคือ ฟิล์มลามิเนต ที่ผลิตมาจากแผ่นโพลีเอสเตอร์ มีคุณสมบัติเหนียว บางเรียบ ใส ไร้รอยย่น ยืดหยุ่นน้อย มีความทนทานต่อสภาพอากาศ สามารถยึดเกาะกับเนื้อกระจกได้อย่างเรียบสนิทโดยใช้กาวที่มีความบางใสเป็นตัวเชื่อม โดยในแผ่นโพลีเอสเตอร์จะมีการใช้วัสดุที่ใช้เพื่อป้องกันความร้อน ฉะนั้นฟิล์มกรองแสงจึงช่วยลดความร้อน ลดรังสีอินฟราเรด และรังสียูวีที่เข้ามากระทบได้เป็นอย่างดี ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวฟิล์มกรองแสงจึงนิยมนำมาใช้เพื่อลดแสง ลดความร้อน ตามอาคาร สำนักงาน บ้าน คอนโด ที่พักอาศัย และด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการพัฒนากระบวนการผลิตฟิล์มกรองแสงให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นตามความต้องการของท้องตลาดและตอบโจทย์ผู้บริโภคได้มากที่สุด ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่
หลังจากที่รู้จักว่า ฟิล์มกรองแสงคือ อะไรแล้ว ฟิล์มกรองแสงยังสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท
ตามกระบวนการผลิต คือ
- ฟิล์มอาคารย้อมสี : เป็นฟิล์มที่มีคุณสมบัติในการลดแสงสว่างเท่านั้น ไม่สามารถรลดความร้อนได้หรือลดได้เพียงเล็กน้อย เมื่อมีการใช้งานไปสักระยะ ฟิล์มจะเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีม่วง นั่นหมายความว่าฟิล์มเริ่มเสื่อมคุณภาพ ทำให้กระจกขาดความสวยงาม ปกติอายุการใช้งานไม่เกิน 3 ปี
- ฟิล์มอาคารแบบฉาบไอโลหะ (Metallized Evaporation Window Films) หรือที่เรียกกันทั่วๆไปว่า “ฟิล์มปรอท” ฟิล์มอาคารแบบฉาบปรอทแบบนี้จะถูกเคลือบผิวด้วยไอโลหะประเภทต่างๆ เช่น อลูมิเนียมฯลฯ ซึ่งฟิล์มติดอาคารแบบฉาบปรอทนี้จะสามารถกันรังสีความร้อนได้มากพอสมควร ผิวฟิล์มจะมีความมันเงา สะท้อนแสง ให้ความเป็นส่วนตัว เป็นที่นิยมในตลาดฟิล์มกรองแสง อายุการใช้งานประมาณ 5-7 ปี
- ฟิล์มอาคารแบบเคลือบอนุภาคโลหะ( Metal Sputtering Window Films ) กระบวนผลิตการจะคล้ายๆ ฟิล์มแบบฉาบไอโลหะ แต่จะฉาบโลหะด้วยวิธี sputtering ทำให้ชั้นโลหะที่ฉาบนั้นจะเรียงตัวบางกว่า ส่งผลให้ฟิล์มเงาน้อยกว่า มีความใส และสามารถป้องกันรังสีความร้อนได้สูง ทำให้ฟิล์มประเภทนี้ราคาแพงมากด้วยเช่นเดียวกัน อายุการใช้งานประมาณ 5-7 ปี
- ฟิล์มอาคารแบบนาโน( Nano Window Films ) เป็นฟิล์มที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ ใช้อนุภาคนาโน (อนุภาคขนาด 10−9นาโนเมตร ) เคลือบเนื้อฟิล์มแทนโลหะ ทำให้ฟิล์มประเภทนี้มีคุณสมบัติเด่นหลายประการ สามารถป้องกันรังสีความร้อนได้ดีเยี่ยม เนื้อฟิล์มจะใสเคลีย ไม่สะท้อนแสง ทำให้ทัศนวิสัยดีกว่าฟิล์มทั่วๆไปและก็มีความทนทานมากกว่า อายุการใช้งานประมาณ 7-15 ปี
สเปคของ ฟิล์มกรองแสงคือ อะไร มีวิธีอ่านค่าต่างๆอย่างไร?
- ค่าแสงส่องผ่าน (Visible Light Trasmittance หรือ VLT) คือ ค่าแสงสว่างที่สามารถผ่านเข้ามาในกระจกได้ ยิ่งค่าน้อยยิ่งป้องกันความร้อนได้ดี แต่ภายในก็จะยิ่งมืด
- ค่าสะท้อนแสง (Visible Light Reflectance หรือ VLR) คือ ค่าแสงสะท้อนที่สะท้อนแสงไปฝั่งตรงข้าม ยิ่งค่ามากยิ่งมีความมันวาว สะท้อนแสงและป้องกันความร้อนได้ดี
- ค่าป้องกันรังสีอินฟราเรด (Infrared Light Rejection หรือ IR) คือ ค่าการป้องกันรังสีอินฟาเรด (รังสีความร้อน) ยิ่งค่ามากยิ่งป้องกันความร้อนได้ดี
- ค่าป้องกันรังสียูวี (Ultraviolet Rejection หรือ UV) คือ ค่าการป้องกันรังสียูวีที่เป็นอันตรายต่อผิวหนังและเฟอร์นิเจอร์ โดยปกติฟิล์มทุกชนิดจะสามารถป้องกันรังสียูวีได้เท่ากันคือ 99% แต่จะมีฟิล์มแบบพิเศษบางชนิดที่สามารถป้องกันรังสี UV400 ได้100%
- ค่าลดความร้อนรวม (Total Solar Energy Rejection หรือ TSER) คือ ค่าการป้องกันความร้อนรวมของแสงสว่าง รังสีUV และรังสีอินฟราเรด ยิ่งค่ามากยิ่งป้องกันความร้อนได้ดี
ความเข้มของ ฟิล์มกรองแสงคืออะไร อ่านได้อย่างไร?
ความเข้มของ ฟิล์มกรองแสง คือ การดูปริมาณแสงสว่างส่องผ่านที่ผ่านออกจากฟิล์มกรองแสง ยกตัวอย่างเช่น ฟิล์มอาคารความเข้ม 80 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 5 % นั่นหมายความว่า ฟิล์มติดอาคารที่แสงส่องผ่าน 3%,5%,7% ก็จะเรียกว่าเป็นฟิล์มเข้ม 80เหมือนกัน
ในหลักการเดียวกัน ฟิล์มอาคารความเข้ม 60 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 15-20 % เป็นค่าโดยประมาณเท่านั้น
ฟิล์มติดอาคารความเข้ม 40 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน ( VLT ) ได้ประมาณ 40 % ซึ่งถ้าจะให้เรียกถูกต้องตามหลักสากลแล้วต้องเรียกที่ค่าแสงสว่างส่องผ่านเป็นหลัก VLT
ติดฟิล์มดำ หรือฟิล์มปรอท ฟิล์มอะไรดีกว่ากัน
ติดฟิล์มดำ หรือฟิล์มปรอทดี? เป็นคำถามที่หลายๆคนสงสัย ฟิล์มดำ กับฟิล์มปรอท คุณสมบัติอาจจะสามารถกรองแสงได้เหมือนกัน แต่จริงๆแล้ว การผลิตฟิล์มกรองแสงทั้ง2ประเภท มีกระบวนการที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง วันนี้ Topfilm Thailand จะมาแนะนำให้เหมาะกับบ้านของคุณ
- ฟิล์มดำ – ช่วยในการกันแสงได้ดี มีให้เลือกหลายความเข้ม ประสิทธิภาพในการกันความร้อน ขึ้นอยู่กับว่า ใช้สารอะไรเคลือบ เพราะ บางที ฟิล์มกรองแสงสีดำเหมือนกัน จะมีการใช้สารเคลือบที่แตกต่างกันมาก และทำให้ราคา แตกต่างกันมากด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเคลือบฟิล์มกรองแสง ด้วยการย้อมสีดำ จะทำให้การกันร้อนไม่ดี แต่ถ้าเคลือบด้วยสารนาโนเซรามิค ก็จะสามารถฟิล์มดำนั้น กันความร้อนได้สูง ฟิล์มดำ เหมาะสำหรับการติดคอนโด อันเนื่องมาจากแสงสะท้อนน้อย ไม่ทำให้รบกวนห้องฝั่งตรงข้าม
- ฟิล์มปรอท – เป็นฟิล์มที่สะท้อนความร้อนออกด้วยสารโลหะต่างๆ เหมาะสำหรับ บ้านที่คอนโด ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว คนข้างนอกมองเข้ามาข้างในไม่เห็น และต้องการความประหยัด อันเนื่องมาจาก ฟิล์มปรอทนั้น ราคาจะไม่แพง แถมยังสามารถกันร้อนได้สูงมากอีกด้วย แต่ข้อควรระวังคือ ต้องไม่ให้มีห้องฝั่งตรงข้าม อาศัยอยู่ด้วย มิเช่นนั้น แสงสะท้อนสะไปสะท้อนเข้าตาฝั่งตรงข้ามได้ ทำให้คอนโดหลายแห่ง มีกฏข้อห้ามติดฟิล์มแบบปรอท สะท้อนแสงเกิน 30% เป็นต้น
หลายๆคนยังอ่านบทความเหล่านี้เพิ่มเติม
- ติดฟิล์มกรองแสงหรือม่านดี
- วิธีการติดฟิล์มอาคาร
- วิธีการดูแลรักษาฟิล์ม
- ติดฟิล์มกรองแสงยี่ห้อไหนดี
- เรื่องน่ารู้ก่อนติดฟิล์มบ้าน
“ ยินดีให้คำปรึกษา วันพื้นที่และประเมินราคาติดฟิล์ม หน้างานฟรี โทร.0922-689-689”
TOPFILM มีฟิล์มตัวอย่างจริงให้เลือกดูอย่างหลากหลาย พร้อมเครื่องทดสอบคุณภาพฟิล์ม